Friday, 15 November 2024

“เเม่ตั๊ก”ส่อโดนคุก ปรับอ่วม ไลฟ์สดขายทอง บอกรายละเอียดไม่ครบ

ประเด็น แม่ตั๊ก ขายทองออนไลน์ ล่าสุด นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีอัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี( สคช.) ได้ให้ความเห็นในฐานะอัยการคุ้มครองผู้บริโภค ในประเด็นข้อกฎหมายร้านทองแม่ตั๊ก ขายทองแต่น้ำหนักเพราะมีผสมวัตถุอื่นให้เเข็งตัวว่าเรื่องนี้ ต้องไปดูกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค อย่างพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 47 บัญญัติไว้อย่างน่าสนใจว่า ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ

หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 52 บัญญัติไว้อีกว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา 30 โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง หรือขายสินค้าที่มีฉลากที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากสั่งเลิกใช้

ตามมาตรา 33 ทั้งนี้ โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาใน
ราชอาณาจักรเพื่อขาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตามกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าการโฆษณาขายสินค้า อย่างประเด็นที่เป็นข่าวคือทองคำการสื่อสารต้องชัดเจนว่าทองคำผสมอะไร น้ำหนักเท่าไหร่ ซื้อไปเเล้วสามารถนำไปขายได้ในร้านทองทั่วไปหรือไม่ เรื่องนี้ถ้าสื่อสารชัดเจน ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น

ส่วนในเรื่องคดีความ การไลฟ์สดขายทองที่เป็นข่าวถ้าผู้ขายไม่บอกราคาให้ชัดเจน เเล้วคลิปไลฟ์สดถูกเซฟเอาไว้ อันนี้ก็เป็นพยานหลักฐานที่จะดำเนินคดีได้ ในส่วนที่ผู้ขายมีการประกาศว่าผู้ที่ซื้อไปสามารถนำมาขายคืนได้ในราคาที่ซื้อไป ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นการบรรเทาผลร้ายโดยการรับซื้อคืน เเต่กระบวนมันก็ดำเนินการไปเเล้ว

ในส่วนความผิด ถ้าไม่มีผู้เสียหายไปเเจ้งความก็อาจจะไม่เป็นไร เพราะมีการรับซื้อคืน ไม่มีผู้เสียหายเเล้ว เเต่ถ้าเกิดมีคนไปเเจ้งความ พนักงานสอบสวนก็ต้อง ทำการสอบสวน ดูว่าในการไลฟ์สดขายมีการปกปิดข้อเท็จจริงหรือไม่ถ้าสอบสวนพบว่ามีก็อาจจะเข้าข่ายข้อหาฉ้อโกง หรืออาจจะถึงขั้นข้อหาฉ้อโกงประชาชน เพราะมีการไลฟ์สดไปสู่ประชาชน ตรงนี้ก็อาจจะขึ้นกับจำนวนผู้เสียหาย เเละอีกข้อหาคือความผิดเกี่ยวกับการค้า ซึ่งจะเป็นความผิดหรือไม่ขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนจะสอบสวนหาความจริงว่า มีการปิดบังข้อมูลอันสำคัญในการขายเเละดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ในส่วนประเด็นผู้บริโภคที่ออกมาร้องเรียนว่าเป็นทองปลอมด้วยความเข้าใจผิด เเละมีข่าวว่าจะมีการฟ้องร้องเอาผิดผู้บริโภคกลับ ถ้าจะฟ้องก็คงเป็นข้อหาหมิ่นประมาทฯ เเต่การที่จะฟ้องผู้บริโภค นั้นทางผู้ขายก็ควรต้องไปดูด้วยหรือไม่ว่าตอนไลฟ์สดขายทองได้พูดอะไรออกมาบ้างได้ทำถูกต้องตามกฎหมายครบถ้วนหรือไม่

ถ้าผู้บริโภคถูกฟ้องหมิ่นประมาทฯเขาก็สามารถสู้ได้หากเป็นการพูดอยู่ในกรอบข้อเท็จจริง เเละเป็นการปกป้องส่วนได้เสียในฐานะผู้เสียหาย เเต่ก็ต้องพึงระลึกไว้ว่าการพูดจะไปพูดใส่ความกันเกินจริงไม่ได้

ในส่วนคนที่ไม่ได้เป็นผู้เสียหายเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าก็ต้องระวังตัวในเรื่องการวิจารณ์หรือพูดเพราะอาจถูกฟ้องร้องเป็นความได้ สุดท้ายก็อยากฝากถึงพ่อค้าเเม่ค้ทถ้าไม่เข้าใจเรื่องไลฟ์สดขายสินค้าอย่างไรให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายสามารถโทรปรึกษาสายด่วนอัยการ สคช.โทร 1157 ได้ตลอด อัยการยินดีช่วย

สำหรับ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544)เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก

โดยที่สินค้าทองรูปพรรณแสดงสาระสำคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่แจ้งชัดในการเลือกซื้อ เพื่อป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภค สมควรแก้ไขการกำหนดข้อความในฉลากเกี่ยวกับการขายทองรูปพรรณให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่ง พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็น พรบ.ที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2533) เรื่อง กำหนดทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปเป็นสินสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533

ข้อ 2 ในประกาศฉบับนี้”ทองรูปพรรณ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือประกอบชื้นขึ้นด้วยโลหะทองคำบริสุทธิ์หรือโลหะทองคำผสม

ช้อ 3 ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก

ข้อ 4 ฉลากของทองรูปพรรณที่ควบคุมฉลากตามข้อ 3 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายนพ.ศ. 2541 และข้อ 3 ทวิ (1) แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 ส.ค. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย

(1) ชื่อประเภทหรือชนิดของทองรูปพรรณ ในกรณีที่เป็นทองรูปพรรณที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
(2) ชื่อและสถานที่ประกอบการหรื เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย แล้วแต่กรณี

(3) ปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้

(4)น้ำหนักทรงรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก.หรือ g แทนก็ได้

5) ราคาให้ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่น หรือใช้สัญลักษณ์สกุลเงิน
แทนก็ได้

.ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2544 เป็นต้นไป

เเละยังมี ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2546)เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2)ความว่า

โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันทองรูปพรรรณที่เป็นผู้ผลิต หรือผู้จำหน้าหน่ายมีการซื้อสินค้าคืนสินค้าทองรูปพรรณ ในราคาที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการรับซื้อคืนสินค้าดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจึงสมควรเพิ่มเติมข้อความในฉลากเกี่ยวกับสินค้าทองรูปพรรณให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่ง พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็น พรบ.ที่มี บทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50ขององรัฐธรมนูญ บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ เป็น 16) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2544)

เรื่อง ให้ทองรูปพรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมคุมฉลาก ลงวันที่ 2 เม.ย.2544
“(6) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณชั้นต่ำ ตามที่สมาคมค้าทองคำประกาศ”

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2546 เป็นต้นไป